
อันดับสโมสรฟุตบอลเอเชีย
อันดับสโมสรฟุตบอลเอเชีย 2022 IFFHS ยก บีจี ปทุมฯ ติดโผท็อป 10 เข้าป้ายเบอร์ 1 สโมสรอาเซียน และเป็นเบอร์ 7 ของเอเชีย หลังโชว์ผลงานสุดยอดตลอดช่วงที่ผ่านมา ด้านคาวาซากิ ฟรอนตาเล่ ทีมของ “เจ-ชนาธิป” ครองเบอร์ 2 เอเชีย ขณะที่ อุราวะ เร้ดส์ ทีมพันธมิตรเมืองทองฯ ได้ที่ 9 ของเอเชีย ส่วนเบอร์ 1 แห่งทวีปเอเชียเป็นของอุลซาน ฮุนได
IFFHS สหพันธ์ประวัติศาสตร์ และสถิติฟุตบอลนานาชาติ ของประเทศเยอรมนี ได้ออกมาเปิดเผยค่าคะแนนจากการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลในช่วงเดือน พ.ค.- เม.ย.65 ซึ่งจากการจัดอันดับในครั้งนี้ ที่ได้วัดจากค่าสัมประสิทธิ์ รวมทั้งความยากง่ายของการแข่งขัน
อันดับสโมสรฟุตบอลเอเชีย 2022 จากการจัดอันดับครั้งนี้มี สโมสรจากไทยติดโผท็อป 10 สโมสรของทวีปเอเชียด้วยนั่นคือ “เดอะ แรบบิท” บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ที่ทำผลงานได้ดีในช่วงที่ผ่านมาบนเวทีเอเชีย โดย IFFHS ให้พวกเขารั้งอันดับที่ 7 ของทวีปเอเชีย และรั้งอันดับ 130 ของโลก รวมถึงยังครองเบอร์ 1 ของสโมสรในโซนอาเซียนโดยปริยาย
ขณะที่ สโมสรที่เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ตกเป็นของ อุลซาน ฮุนได จากเกาหลีใต้ ส่วนคาวาซากิ ฟรอนตาเล่ ต้นสังกัดของ “เจ” ชนาธิป สรงกระสินธ์ รั้งเบอร์ 2 ของทวีปเอเชีย นอกจากนี้อุราวะ เร้ดส์ ทีมพันธมิตรของเมืองทอง ยูไนเต็ด ก็ติดอยู่ในโผรั้งอันดับ 9 ของทวีปเอเชียอีกด้วย
10 อันดับสโมสรของทวีปเอเชีย
สำหรับ 10 อันดับสโมสรของทวีปเอเชีย ประกอบด้วย 1. อุลซาน ฮุนได (อันดับ 28 ของโลก), 2. คาวาซากิ ฟรอนตาเล่ (อันดับ 62 ของโลก), 3. ชุนบุค ฮุนได (อันดับ 68 ของโลก), 4. แดกู เอฟซี (อันดับ 82 ของโลก), 5. อัล ฮิลาล (อันดับ 84 ของโลก), 6. นาซาฟ (อันดับ 120 ของโลก), 7. บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (อันดับ 130 ของโลก), 8. โปฮัง สตีลเลอร์ส (อันดับ 145 ของโลก), 9. อุราวะ เร้ดส์ (อันดับ 174 ของโลก), 10. อัล ชาบาบ (อันดับ 182 ของโลก)
วิกฤตทางการเมืองที่ทำลายวงการฟุตบอลศรีลังกา
สงครามและปัญหาเชื้อชาติ วิกฤตทางการเมืองที่ทำลายวงการฟุตบอลศรีลังกาพังไม่เป็นท่า หากพูดถึงประเทศศรีลังกากับฟุตบอล แฟนลูกหนังชาวไทยคงหาความเชื่อมโยงอะไรระหว่างสองสิ่งนี้แทบไม่ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะวงการฟุตบอลศรีลังกาตกต่ำมาอย่างยาวนานและร้างความสำเร็จจนแทบจะไม่มีอยู่เลย อย่างไรก็ตามปัญหาของวงการฟุตบอลศรีลังกาไม่ได้เกิดขึ้นโดยไร้สาเหตุ แต่มันมาจากปัญหาทางการเมืองและสังคม ทั้งที่พวกเขามีรากฐานกับกีฬาฟุตบอลมายาวนานมากกว่าร้อยปี นี่คือเรื่องราวของฟุตบอลในศรีลังกา พร้อมกับปัญหาที่ทำให้วงการลูกหนังศรีลังกาล้าหลังจนสายเกินแก้ในปัจจุบัน
ยุคทองของฟุตบอลในแผ่นดินศรีลังกา
ถึงแม้ว่าปัจจุบันศรีลังกาจะดูห่างไกลจากการเป็น ยอดทีมของโลกฟุตบอล แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขามีประวัติศาสตร์คู่กับกีฬาลูกหนังมาอย่างยาวนาน เนื่องจากดินแดนศรีลังกาเคยเป็นเป็นอาณานิคมภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษมาก่อน นั่นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรือสินค้า และกะลาสีชาวอังกฤษจะพาเกมลูกหนังข้ามน้ำข้ามทะเลมาเผยแพร่ที่ดินแดนในโลกตะวันออกแห่งนี้ ฟุตบอลเคยเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลของศรีลังกา พื้นที่ริมชายหาดถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามฟุตบอลของชาวอังกฤษที่ต้องมาปักหลักทำงานบนดินแดนแห่งนี้ที่แพร่กระจายความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ภายในระยะเวลาไม่นานนักฟุตบอลในศรีลังกาก็กลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนโดยทหารอังกฤษที่อาศัยอยู่ในประเทศ เพราะทหารอังกฤษพลัดถิ่นได้ใช้เกมลูกหนังเป็นกิจกรรมยามว่าง จนกลายเป็นการก่อตั้งสโมสรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทีมฟุตบอลทหารอากาศ, ทีมฟุตบอลกองทัพเรือ, ทีมฟุตบอลทหารช่าง หรือทีมฟุตบอลทหารปืนใหญ่ และอีกมากมายเต็มไปหมด จนกระทั่งความนิยมในเกมฟุตบอลก้าวข้ามจากคนอังกฤษมาสู่ชาวศรีลังกาท้องถิ่น จนเริ่มมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลท้องถิ่นขึ้นมา ภายใต้การนำของชาวต่างชาติที่เริ่มชักจูงคนท้องถิ่นให้มาเล่นกีฬาเดียวกับพวกเขา
ในยุค 1910s จนถึง 1920s ถือเป็นยุครุ่งเรืองของฟุตบอลในศรีลังกา คนในประเทศนี้เล่นกีฬานี้กันแทบทุกคน มีสโมสรฟุตบอลเกิดขึ้นนับไม่ถ้วน จนถึงขั้นมีการตั้งสมาคมฟุตบอลอย่างไม่เป็นทางการบนแผ่นดินศรีลังกาขึ้นมาเลยทีเดียว ในยุคนั้นเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าศรีลังกามีความก้าวหน้าทางฟุตบอลอยู่มาก เพราะชาวอังกฤษหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาและพาศรีลังกาให้เดินหน้าไปสู่เกมลูกหนัง อย่างไรก็ตามเมื่อศรีลังกาประกาศเอกราชปกครองตัวเองในปี 1948 อิทธิพลของชาวยุโรปในศรีลังกาก็หดหายตามไปด้วย และนั่นได้นำมาสู่ยุคมืดของวงการฟุตบอลศรีลังกา
การเมืองแย่ ทุกอย่างแย่
ในยุคแรกหลังจากการประกาศเอกราช อิทธิพลความรุ่งเรืองของวงการฟุตบอลจากยุคก่อนยังคงหลงเหลืออยู่ และศรีลังกาก็ใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้นในการเข้าเป็นสมาชิกของ FIFA ในปี 1952 อย่างไรก็ตามปัญหาของประเทศศรีลังกาก็เริ่มเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันไม่นาน หลังจากในปี 1956 โซโลมอน บันดาราไนยเก (Solomon Bandaranaike) ผู้นำของศรีลังกา ประกาศที่จะสนับสนุนวัฒนธรรมของชาวศรีลังกาที่แท้จริงเท่านั้น และเริ่มนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งกับชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศศรีลังกา
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ความขัดแย้งยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นขบวนการทางการเมืองของชาวอินเดียที่ต่อต้านความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น มีการเผชิญหน้ากันในสังคมระหว่างชาวศรีลังกากับชาวอินเดียพลัดถิ่นอยู่บ่อยครั้ง โชคดีที่รัฐบาลศรีลังกายังพอจะยับยั้งสถานการณ์เอาไว้ได้จึงไม่นำไปสู่สงครามการเมืองในเวลานั้น อย่างไรก็ตามประเทศที่แตกแยกทำให้ความสำคัญของกีฬาถูกลบเลือนไปจนสิ้น จากยุคสมัยที่ชาวอังกฤษและชาวศรีลังการวมใจกันเล่นฟุตบอล ตอนนี้ไม่มีอีกต่อไป ในสภาวะที่สังคมไม่มั่นคงไม่รู้ว่าจะมีสิทธิเสรีภาพเท่ากันหรือไม่ก็ทำให้ไม่มีใครจะมาสนใจกีฬาฟุตบอล ท้ายที่สุดความขัดแย้งได้นำมาสู่เรื่องราวอันเลวร้าย เพราะ โซโลมอน บันดาราไนยเก ถูกฆาตกรรมจนเสียชีวิตในปี 1959
ทุกอย่างเลวร้ายและดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรดีขึ้น หลังจากที่ สิริมาโว บันดาราไนยเก (Sirimavo Bandaranaike) ภรรยาของโซโลมอนที่ขึ้นมามีอำนาจและปกครองประเทศแทน เธอชื่นชอบในระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์แบบจีนกับรัสเซีย จึงตัดสินใจตัดขาดความสัมพันธ์จากประเทศอื่นโดยหันไปเจริญความสัมพันธ์กับแค่ชาติในโลกคอมมิวนิสต์ด้วยกันเท่านั้น
นั่นจึงยิ่งทำให้ทุกอย่างในโลกฟุตบอลเลวร้าย ศรีลังกาเลือกปิดประเทศและไม่ส่งทีมฟุตบอลของตัวเองเข้าแข่งขันในรายการกีฬานานาชาติแม้แต่รายการเดียว การพัฒนาของวงการฟุตบอลศรีลังกาจึงหยุดอยู่กับที่ และยิ่งเวลาผ่านไปก็มีแต่จะถอยหลังลงเรื่อย ๆ
ศรีลังกาปิดประเทศยาวนานจนถึงปี 1977 กว่าพวกเขาจะมาเปิดประเทศอีกครั้งหลังจากปรับเศรษฐกิจเป็นตลาดเสรี แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เพราะมันคือการกลับมาของลัทธิการต่อต้านชาวอินเดียในประเทศศรีลังกาอีกครั้งและความขัดแย้งคราวนี้ก็ไม่ได้เหมือนในอดีตและนำไปสู่สงครามกลางเมืองในศรีลังกา หลังจากที่คนเชื้อสายอินเดียได้ทำการฆ่าทหารชาวศรีลังกา 13 คน นำมาซึ่งการปราบปรามครั้งใหญ่ และคนเชื้อสายอินเดียต้องอพยพออกจากศรีลังกาเป็นจำนวน 150,000 คน
สงครามกลางเมืองของศรีลังกาไม่ได้จบลงเพียงแค่นั้นแต่กินเวลายาวนานมากกว่า 25 ปี หลังจากพื้นที่ทางตอนเหนือของศรีลังกา ถูกยึดครองโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่มีเชื้อสายอินเดีย และกว่าทุกอย่างจะกลับเป็นปกติ ศรีลังกาก็ได้พบว่าพวกเขากลายเป็นประเทศล้าหลังอย่างเต็มตัวไปเสียแล้ว รวมถึงด้านกีฬาด้วยเช่นกัน
ความพยายามที่อาจสายเกินกาล
กว่าศรีลังกาจะได้โฟกัสเริ่มต้นเดินหน้าพัฒนาฟุตบอลอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีก็ต้องรอถึงปี 2014 ซึ่งเริ่มต้นจากการที่พวกเขาตัดสินใจส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน บังกาบันฑุ คัพ ที่เป็นรายการอุ่นเครื่องของประเทศบังกลาเทศ เพื่อนร่วมภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อโอกาสในการได้เล่นกับนักฟุตบอลของชาติที่สูงกว่า ซึ่งก่อนนี้พวกเขาแทบไม่ได้ส่งทีมออกไปอุ่นเครื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เล่นเลย แต่ในทัวร์นาเมนต์นั้นในขณะที่ศรีลังกาส่งทีมชาติชุดใหญ่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมชาติอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย และ ทีมชาติไทย กลับส่งแค่ทีมรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีเข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น นี่แสดงให้ถึงความไม่พัฒนาของวงการฟุตบอลศรีลังกาได้เป็นอย่างดีที่แค่เทียบกับทีมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลระดับนานาชาติพวกเขาก็ยังตามหลังอยู่ห่างไกลในเรื่องคุณภาพของกีฬาฟุตบอล มิหนำซ้ำพวกเขายังตกรอบแรกแบบยิงไม่ได้แม้แต่ลูกเดียวในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวอีกด้วย
นอกจากนี้ในปี 2016 ศรีลังกายังได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในรายการ AFC Solidarity Cup ซึ่งเป็นการร่วมตัวทีมฟุตบอลที่ยังไม่ได้พัฒนาของทวีปเอเชียไม่ว่าจะเป็น บรูไน, ลาว, เนปาล, มาเก๊า, มองโกเลีย และ ปากีสถาน แต่พวกเขาก็ยังตกรอบแรกเช่นเดิม รวมถึงการแพ้มองโกเลีย 0-2 ทั้งที่มองโกเลียคือทีมที่มีอันดับฟีฟ่าต่ำสุดของเอเชียในเวลานั้นอยู่ที่อันดับ 202 และทำให้การแพ้ครั้งนั้นถูกบันทึกในฐานะความอับอายของวงการฟุตบอลศรีลังกามาจนถึงปัจจุบัน นี่คือความเจ็บปวดและบทเรียนที่ประเทศศรีลังกาต้องเผชิญ หลังจากปัญหาทางการเมืองที่ไม่พัฒนาจนนำมาซึ่งความล้าหลังของประเทศ ที่กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป พวกเขายังต้องเดินทางอีกยาวไกลเพื่อที่จะพัฒนาและแก้ไขเรื่องราวในอดีต ปัจจุบันรัฐบาลศรีลังกาก็พยายามแก้ไขความผิดหวังในอดีตด้วยการจับมือกับรัฐบาลประเทศกาตาร์ที่คอยช่วยเหลือพัฒนาซึ่งกันและกัน พร้อมกับหวังใช้เงินทุนของกาตาร์เข้ามาช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลในประเทศ แต่หลังจากความพ่ายแพ้ต่ออุซเบกิสถาน 0-3 ไปแบบหมดรูป ในเกมอุ่นเครื่องเอเชียนคัพ ก็เป็นการตอกย้ำว่าศรีลังกายังห่างไกลกับการสร้างทีมให้ประสบความสำเร็จในโลกลูกหนัง พร้อมไปกับแสดงถึงความล้มเหลวของประเทศที่ส่งผลเสียต่อวงการฟุตบอล พวกเขายังคงต้องใช้เวลาอีกยาวนานในการล้างอดีตที่ผิดพลาดให้หมดสิ้น
